pr.gif สำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน

ได้ ยกเลิก ปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์นี้แล้ว

โดยท่านสามารถเข้าใช้ เว็บไซต์ใหม่ ได้ที่ rio2.rid.go.th ขอบคุณครับ

           วันที่ 7 สิงหาคม 2563 ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำภาพรวมของกรมชลประทาน พร้อมทั้งขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อมีน้ำสำรองใช้ในปีต่อไป โดยมีนายปรีชา จานทอง ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 และ นายสุรศักดิ์ สุพรรณคง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา ร่วมลงพื้นที่ ณ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา ตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

          รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จากการก่อตัวของพายุ “ซินลากู” ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทั้งในเชิงลบและเชิงบวก ในเชิงลบคือก่อให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเสียหายกว่า 10,000 ครัวเรือน ส่วนในเชิงบวกคือทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น เขื่อนกิ่วลม มีปริมาณน้ำประมาณ 44 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนกิ่วคอหมา มีปริมาณน้ำประมาณ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในปี 2563 คาดว่าจะมีพายุ 1-2 ลูก ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2563 ปัจจุบันมีพายุเข้ามาแล้ว 1 ลูก  คือพายุซินลากู แต่ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือยังต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ได้มีการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พบว่ามีหย่อมความกดอากาศต่ำอยู่ที่ทะเลจีนใต้ เป็นร่องพัดผ่านตอนเหนือของประเทศไทย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง จะทำให้มีฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลดีทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของกรมชลประทานทั่วประเทศ จำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำเพียงร้อยละ 17 เท่านั้น ถือว่าปริมาณน้ำยังต่ำกว่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว กรมชลประทาน จึงพยายามเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับข้อสั่งการของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้กำกับดูแลเรื่องน้ำ และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้มี ข้อสั่งการให้บริหารจัดการน้ำโดยใช้น้ำท่าให้มากที่สุด สำหรับการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนของกรมชลประทาน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ได้มีแนวทางกำหนดพื้นที่จุดเสี่ยงการเกิดอุทกภัย กำหนดคน จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ พร้อมทั้งกำชับให้โครงการชลประทานจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา จำนวน 101 โครงการ เตรียมความพร้อมลงพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงที

          จากสถิติปริมาณน้ำฝนปี 2562 ในภาพรวมทั้งประเทศ มีฝนตกต่ำกว่าค่าปกติถึง 16 เปอร์เซ็นต์ เกิดวิกฤตน้ำแล้ง ฝนแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำมีน้อย โดยในปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติ 5 เปอร์เซ็นต์ แต่เนื่องจากความผันผวนของสภาพอากาศ ทำให้เกิดความไม่แน่นอน กรมชลประทาน จึงได้วางแผนบริหารจัดการน้ำโดยเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุดเพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน มีการคาดหมายทางด้านวิศวกรรมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2564 ได้คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำในเขื่อนมากกว่าปี 2562 แต่อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน ขอความร่วมมือประชาชนทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อให้มีน้ำสำรองใช้ในปีต่อไป

070863 2

2

3

4

5

6

 

เข้าระบบสมาชิก

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ สชป.2
2654730
วันนี้2373
สัปดาห์นี้20334
เดือนนี้53459
รวมทั้งหมด2654730
เริ่มนับเมื่อ 18/05/2560