pr.gif สำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน

ได้ ยกเลิก ปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์นี้แล้ว

โดยท่านสามารถเข้าใช้ เว็บไซต์ใหม่ ได้ที่ rio2.rid.go.th ขอบคุณครับ

         วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายปาโมกข์ ปิงเมือง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพะเยา และคณะ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูกว๊านพะเยา มี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในการประชุม เพื่อพิจารณายกร่างแนวทางการพัฒนากว๊านพะเยา 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค ด้านที่ 2 สร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ด้านที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน ด้านที่ 6 การบริหารจัดการ โดยประธานคณะทำงานมอบหมายให้ คณะทำงานพัฒนาอนุรักษ์และฟื้นฟูกว๊านพะเยา ซึ่งเป็นผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนแผนหลักการพัฒนาฟื้นฟูกว๊านพะเยาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และดำเนินการตามแผนแม่บทสู่การปฏิบัติต่อไป

          และจากการติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดพะเยาของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา มีประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนากว๊านพะเยา โดยให้กรมชลประทานและกรมประมง ร่วมกันบริหารจัดการหนองเล็งทรายและกว๊านพะเยาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการขุดแก้มลิง ขุดลอกคลองรอบกว๊านพะเยา และขุดแนวร่องน้ำเดิมกว๊านพะเยาด้วยเรือขุด ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำในกว๊านพะเยา เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค ควบคุมแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตร เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่ต้นน้ำ ตลอดจนเพิ่มพื้นที่ส่งน้ำให้แก่เกษตรกร 3,000 - 5,000 ไร่ ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังได้พิจารณางานเร่งด่วนที่จำเป็นจะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เป็นต้นไป ในส่วนที่กรมชลประทานรับผิดชอบ 2 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำเพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยอนุรักษ์กว๊านพะเยา และโครงการขุดลอกตะกอนดินกว๊านพะเยาอีกด้วย

190264 7

2

          ทั้งนี้ การพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นประโยชน์อย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ ที่จะส่งผลให้เพิ่มศักยภาพการผลิตทางการเกษตรของพื้นที่ได้ประมาน 200,000 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ประมาณ 40,000 ครัวเรือน มีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ

3

4

เข้าระบบสมาชิก

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ สชป.2
2663173
วันนี้2232
สัปดาห์นี้7684
เดือนนี้2232
รวมทั้งหมด2663173
เริ่มนับเมื่อ 18/05/2560