pr.gif สำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน

ได้ ยกเลิก ปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์นี้แล้ว

โดยท่านสามารถเข้าใช้ เว็บไซต์ใหม่ ได้ที่ rio2.rid.go.th ขอบคุณครับ

          วันที่ 5 มีนาคม 2563 นายปรีชา จานทอง ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 พร้อมด้วย นายสุรศักดิ์ สุพรรณคง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา และรองผู้อำนวยสำนักงานชลประทานที่ 2 ผู้อำนวยการส่วน ผู้อำนวยการโครงการ ในเขตจังหวัดลำปาง ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาวัชพืชจอกหูหนูที่แพร่กระจายในเขื่อนกิ่วลม มีนายสิธิชัย จินดาหลวง รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในการประชุม เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ณ ห้องประชุมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา

          สำหรับวัชพืชจอกหูหนู ได้แพร่ขยายพันธุ์เจริญเติบโตในเขื่อนกิ่วลมจังหวัดลำปาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมา และเพิ่มปริมาณหนาแน่นมากในช่วงฤดูน้ำหลาก เดือนกันยายน-ตุลาคม ของทุกปี ประกอบกับสภาพอากาศของจังหวัดลำปางเอื้ออำนวยให้วัชพืชแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ คุณภาพน้ำเน่าเสีย ส่งผลกระทบต่อการอุปโภค-บริโภค และเป็นอุปสรรคในการสัญจรทางน้ำ ซึ่งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา ได้ทำการเฝ้าระวังและกำจัดวัชพืชจอกหูหนูมาโดยตลอด แต่ก็ไม่สามารถกำจัดวัชพืชจอกหูหนูได้หมด อีกทั้งยังเพิ่มปริมาณหนาแน่นมากขึ้น ปัจจุบันวัชพืชจอกหูหนูในเขื่อนกิ่วลมแพร่กระจายแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ โซนต้นน้ำ บริเวณช่วงท่าสำเภาทอง ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม ถึงถ้ำสมบัติ ช่วงระยะ 4 กิโลเมตร โซนกลางน้ำ บริเวณตั้งแต่ถ้ำสมบัติถึงห้วยฮาว ช่วงระยะ 12 กิโลเมตร วัชพืชอยู่บริเวณตามซอกลำห้วยสาขาต่าง ๆ ที่น้ำไหลลงเขื่อนกิ่วลม ปัจจุบันโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนชาวแพเขื่อนกิ่วลม-สำเภาทอง ดำเนินการทำทุ่นเชือกและไม้ไผ่ผูกติดกันโอบล้อมวัชพืชจอกหูหนูเอาไว้ตามซอกลำห้วยต่าง ๆ โดยช่วยกันทยอยเก็บและกำจัดมาโดยตลอด โซนปลายน้ำ บริเวณเขื่อนกิ่วลมวัชพืชไหลมาเต็มเหนือน้ำขึ้นไปถึงลำห้วยฮาว ช่วงระยะ 2 กิโลเมตร สาเหตุเกิดจากวัชพืชได้ไหลหลุดมาจากบริเวณที่ได้โอบล้อมไว้ ซึ่งพื้นที่ผิวน้ำเหนือเขื่อน 16 ตารางกิโลเมตร หรือ 10,000 ไร่ ปริมาณวัชพืชที่เกิดขึ้นประมาณ 2,000 ไร่ (1 ไร่วัชพืชน้ำ) น้ำหนักสด 80 ตัน/ไร่ จำนวน 2,000 ไร่ คิดเป็นน้ำหนัก 160,000 ตัน

          จากการประชุมเพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางแก้ไขปัญหาประกอบด้วย ระยะที่ 1 ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 1 สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน จะทำการขุดตักพร้อมขนย้ายวัชพืชบริเวณโซนปลายน้ำ ตั้งแต่ตัวเขื่อนกิ่วลมขึ้นไปถึงโรงสูบน้ำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต โดยมีแผนงานดำเนินการให้แล้วเสร็จต้นเดือนเมษายน 2563 ก่อนประเพณีสงกรานต์ที่จะมาถึง ระยะที่ 2 ทำการกำจัดวัชพืชบริเวณโซนต้นน้ำ คือบริเวณตั้งแต่ท่าสำเภาทอง ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม บริเวณโซนกลางน้ำ และโซนต้นปลายน้ำ ตั้งแต่ห้วยฮาวถึงโรงสูบน้ำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต โดยจะทำการโอบปิดล้อมวัชพืชตามจุดต่าง ๆ เอาไว้ พร้อมนำเครื่องจักรเครื่องมือขุดตักออกไป (ขณะนี้อยู่ในระหว่างขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมชลประทาน หากได้รับจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2563 นี้ต่อไป) ส่วนในระยะยาวโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม- กิ่วคอหมา จะแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ยั่งยืนต่อไป

050363 3

2

3

4

5

6

7

8

9

10

 

เข้าระบบสมาชิก

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ สชป.2
2651347
วันนี้2761
สัปดาห์นี้16951
เดือนนี้50076
รวมทั้งหมด2651347
เริ่มนับเมื่อ 18/05/2560