pr.gif สำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน

ได้ ยกเลิก ปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์นี้แล้ว

โดยท่านสามารถเข้าใช้ เว็บไซต์ใหม่ ได้ที่ rio2.rid.go.th ขอบคุณครับ

          วันที่ 6 มกราคม 2566 นายสถิต โพธิ์ดี รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดลำปาง เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สำนักงานชลประทานที่ 2 มีขอบเขตความรับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดลำปาง พะเยา น่าน และเชียงราย มีหน้าที่ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำ จังหวัดลำปาง มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำกิ่วลมและอ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 29 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 54 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 451.76 ล้านลูกบาศก์เมตร จังหวัดพะเยา มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 4 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบ 20 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 104.86 ล้านลูกบาศก์เมตร จังหวัดน่าน มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 4 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 31 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 37.33 ล้านลูกบาศก์เมตร จังหวัดเชียงราย มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 4 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 51 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 149.27 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำในภาพรวมของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด มีปริมาณน้ำรวม 743.21 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำที่ใช้การได้ 692.40 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กรวม 118.76 ล้านลูกบาศก์เมตร

060166 2

2

            ในส่วนของการการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2565/2566 สำนักงานชลประทานที่ 2 มีแนวทางการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง (ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 1 พฤษภาคม 2566) โดยจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ วางแผนการจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำดับความสำคัญ เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ ต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเพียงพอ สำหรับการอุปโภค-บริโภค การรักษาระบบนิเวศ การอุตสาหกรรมและการสำรองน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชต้นฤดูฝนในปีถัดไป

            นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูแล้งปี 2565/2566 โดยดำเนินการเร่งกักเก็บน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทเฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำจำนวน 68 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 15 คัน รถบรรทุก 6 ตัน 16 คัน รถขุด 4 คัน รถบรรทุกติดเครน 10 คัน รถบรรทุกเทท้าย 31 คัน พร้อมทั้งปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง และเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำสายรอง รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้การบริการจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

3

4

5

6

เข้าระบบสมาชิก

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ สชป.2
2648546
วันนี้3774
สัปดาห์นี้14150
เดือนนี้47275
รวมทั้งหมด2648546
เริ่มนับเมื่อ 18/05/2560