หน้าที่ความรับผิดชอบฝ่ายประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ

 

1. รวมรวม ตรวจสอบ ศึกษา และประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยา เพื่อนำมาวิเคราะห์ประมวลผลสถานการณ์น้ำ สำหรับใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ


2. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือแบบจำลอง เพื่อใช้งานในด้านบริหารจัดการน้ำ คาดการณ์น้ำหลาก และติดตาม/เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดด้วยระบบโทรมาตร (Telemetering System) ร่วมกับระบบข้อมูลสารสนเทศ ระบบโทรมาตรและระบบพยากรณ์สถานการณ์น้ำที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อเผยแพร่/สนับสนุนข้อมูลสถานการณ์น้ำให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการพิจารณาวางแผนบริหารจัดการน้ำและแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ


3. ศึกษา และพัฒนารูปแบบการจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมชลประทาน การพยากรณ์สถานการณ์น้ำเพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยอันเกิดจากน้ำ ให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ (ระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับรายงานสถานการณ์น้ำ การเฝ้าระวังและเตือนภัยอันเกิดจากน้ำ แผนที่เสี่ยงภัยอันเกิดจากน้ำ ฯลฯ)


4. ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดแนวทาง กระบวนงาน แผนงานแก้ไขป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ แผนการใช้เครื่องจักรเครื่องมือ เครื่องสูบน้ำในช่วงที่เกิดอุทกภัยและภัยแล้งที่มีประสิทธิภาพ และควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการทุกภาคส่วนได้อย่างทันเวลา วิเคราะห์ จัดทำเกณฑ์การเตือนภัย วางระบบเฝ้าระวังเตือนภัย และแผนที่อพยพในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดินโคลนถล่ม


5. รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ และประเมินผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำด้านการชลประทานในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และทางน้ำชลประทาน ในพื้นที่ความรับผิดชอบเพื่อจัดทำรายงานผล การตรวจวัดคุณภาพน้ำ และรายงานการประเมินผลคุณภาพน้ำด้านชลประทาน


6. ศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรม ด้านการประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ


7. ถ่ายทอดองค์ความรู้หรือให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานด้านวิชาการ (การประยุกต์ใช้ แบบจำลองคาดการณ์พยากรณ์น้ำหลาก ระบบเฝ้าระวังเตือนภัย และแผนที่อพยพในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดินโคลนถล่ม) แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน เกษตรกร ผู้ใช้น้ำ หรือผู้รับบริการทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการปฏิบัติงานร่วมกัน


8. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด