pr.gif สำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน

ได้ ยกเลิก ปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์นี้แล้ว

โดยท่านสามารถเข้าใช้ เว็บไซต์ใหม่ ได้ที่ rio2.rid.go.th ขอบคุณครับ

           วันที่ 7 ธันวาคม 2563 ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน พร้อมด้วย นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 นายปาโมกข์ ปิงเมือง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพะเยา และเจ้าหน้าที่ ร่วมให้การต้อนรับ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคณะ ในการลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัดพะเยา ในการนี้ รองอธิบดี กรมชลประทาน และผู้อำนวยการโครงการชลประทานพะเยา ร่วมบรรยายสรุปเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาหนองเล็งทราย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

          หนองเล็งทราย เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่เนื้อที่ประมาณ 5,563 ไร่ มีพื้นที่รับน้ำ 200 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีความจุเก็บกักที่ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งอยู่ใจกลางอำเภอแม่ใจ ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล ปัจจุบันหนองเล็งทรายมีสภาพตื้นเขิน เนื่องจากตะกอนดินจากลำห้วยต่าง ๆ ไหลลงสู่หนองเล็งทราย ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้อย่างเต็มศักยภาพในฤดูฝน ซึ่งชาวอำเภอแม่ใจ ใช้ประโยชน์จากหนองเล็งทราย เป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาสำหรับอุปโภคบริโภค ปีละประมาณ 720,000 ลูกบาศก์เมตร หรือเฉลี่ยเดือนละประมาณ 60,000 ลูกบาศก์เมตร และยังมีพื้นที่การเกษตรรอบหนองเล็งทราย อีกประมาณ 10,000 ไร่ ที่ใช้น้ำจากหนองน้ำแห่งนี้

          สำหรับแนวทางการพัฒนาหนองเล็งทราย โครงการชลประทานพะเยา ได้วางแนวทางการพัฒนาหนองเล็งทรายออกเป็น 4 ระยะ การพัฒนาระยะที่ 1 สามารถเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำได้ 3.30 ล้านลูกบาศก์เมตร การพัฒนาระยะที่ 2 สามารถเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำได้ 8.997 ล้านลูกบาศก์เมตร การพัฒนาระยะที่ 3 สามารถเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำได้ 1.695 ล้านลูกบาศก์เมตร การพัฒนาระยะที่ 4 สามารถเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำได้ 0.98 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการอยู่ในระยะที่ 1 ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเป็นไปตามแผนงาน ส่วนงานก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ 2 แห่ง และทางระบายน้ำล้นได้รับอนุมัติงบกลางปี 2563 กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาหนองเล็งทรายทั้ง 4 ระยะนั้น จะสามารถเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์จำนวน 10,000 ไร่ ให้แก่เกษตรและผู้ใช้น้ำในอำเภอแม่ใจ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 6 ตำบล 66 หมู่บ้าน รวม 7,000 ครัวเรือน ประชากรได้รับประโยชน์ 32,000 คน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้มากขึ้น จากเดิมเก็บกักได้ 9.00 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 23.972 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น 14.972 ล้านลูกบาศก์เมตร อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อีกทางหนี่งด้วย

 

071263 3

2

3

4

5

6

7

8

9

 

เข้าระบบสมาชิก

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ สชป.2
2643494
วันนี้2706
สัปดาห์นี้9098
เดือนนี้42223
รวมทั้งหมด2643494
เริ่มนับเมื่อ 18/05/2560