pr.gif สำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน

ได้ ยกเลิก ปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์นี้แล้ว

โดยท่านสามารถเข้าใช้ เว็บไซต์ใหม่ ได้ที่ rio2.rid.go.th ขอบคุณครับ

          วันที่ 30 มกราคม 2566 นายเกียรติพงษ์ เพชรศรี ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 ร่วมรับฟัง นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พูดคุยในหัวข้อ "การบริหารจัดการน้ำ และการเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้ง ปี 2566" ในรายการ "เกษตร...ต่อยอด" ผ่านทาง Facebook Live : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ในฤดูฝนปี 2565 ที่ผ่านมา กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 โดยใช้ระบบชลประทานอย่างเต็ม ศักยภาพ และการช่วยเหลือด้านเครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รวมทั้งสิ้น 2,260 หน่วย ครอบคลุม 58 จังหวัดที่ประสบอุทกภัย และหลังจากน้ำลดยังได้ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ เข้าไปฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชั ย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์

300166 2

2

          ในส่วนของปริมาณน้ำต้นทุนจากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ทำให้ ณ วันที่ 1 พ.ย. 2565 ทั้งประเทศมีน้ำ ต้นทุนรวมทั้งสิ้น 64,000 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าปี 2564 กว่า 5,495 ล้าน ลบ.ม. สำหรับการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2565/66 ได้ปฏิบัติตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2565/66 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบไว้เมื่อ 1 พ.ย. 2565 โดยทั้งประเทศวางแผน จัดสรรน้ำไว้ทั้งสิ้น 43,740 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็นการจัดสรรน้ำเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งประมาณ 27,685 ล้าน ลบ.ม. หรือ 63% ของแผนฯ ส่วนที่เหลือจะสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนอีกประมาณ 16,055 ล้าน ลบ.ม. หรือ 37% ของแผนฯ ในส่วน การเพาะปลูกข้าวนาปรัง ได้วางแผนการเพาะปลูกไว้ทั้งประเทศประมาณ 10.42 ล้านไร่ ปัจจุบันเพาะปลูกไปแล้ว 8 ล้านไร่ หรือ 76% ของแผนฯ โดยกรมชลประทาน ได้วางแผนการจัดสรรน้ำเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำอย่างเพียงพอทุกกิจกรรม ด้วยการ จัดสรรน้ำแบบประณีต นอกจากนี้ ยังได้มีการเร่งซ่อมแซมอาคารชลประทาน และระบบชลประทานที่ได้รับความเสียหายจาก อุทกภัย ให้สามารถบริหารจัดการน้ำและส่งน้ำในฤดูแล้งได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างการ รับรู้และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลสถานการณ์น้ำผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจแก่เกษตรกรและประชาชน

          ด้านการเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกลสนับสนุนอื่น ๆ อีก 5,382 หน่วย เพื่อให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในช่วงฤดูแล้งนี้ ทั้งยังมีการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อสร้างรายได้เสริมเกษตรกรในช่วง ฤดูแล้ง ปัจจุบันมีการจ้างแรงงานไปแล้วกว่า 17,000 คน นอกเหนือจากการบริหารจัดการน้ำตามแผนการจัดสรรน้ำทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้งแล้ว การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ถือเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน กรมชลประทานได้ดำเนินการโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญๆ ในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาแหล่ง น้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกัก สร้างความมั่นคงด้านน้ำ และบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอีกหลายโครงการ ซึ่งทั้งหมดนี้ กรมชลประทาน มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำ ให้กับพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วนได้มีน้ำใช้ อย่างเพียงพอและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

3

4

5

6

เข้าระบบสมาชิก

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ สชป.2
2643292
วันนี้2504
สัปดาห์นี้8896
เดือนนี้42021
รวมทั้งหมด2643292
เริ่มนับเมื่อ 18/05/2560